ใบงานที่4 บทความที่สนใจในการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
ใบงานที่4 บทความที่สนใจในการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
โรคตาบอดสี

โรคตาบอดสีเกิดขึ้นจากเซลล์ประสาทชนิดหนึ่งในม่านตาที่มีการตอบสนองความไวต่อสีต่างๆทำงานผิดปกติ จนเกิดเป็นความบกพร่องหรือความพิการส่งผลให้ดวงตาไม่สามารถที่จะมองเห็นสีบางสีได้
สาเหตุ
โดยปกติในจอประสาทตาของคนเราจะมีเซลล์2ชนิดที่ทำให้เราสามารถมองเห็นวัตถุต่างๆซึ่งได้แก่ เซลล์รูปแท่งและเซลล์รูปกรวยโดยเซลล์ทั้งสองชนิดนี้จะมีหน้าที่แตกต่างกันดังนี้
เซลล์รูปแท่ง:เป็นเซลล์ที่ช่วยในการมองเห็นในที่สลัวภาพที่เห็นจากเซลล์รูปแท่งนี้จะมีลักษณะเป็นสีขาวหรือดำขึ้นอยู่กับความสว่างของแสงในดวงตาของคนปกติเซลล์รูปแท่งนี้จะช่วยให้สามารถมองเห็นวัตถุในที่มืดได้ในระดับหนึ่ง
เซลล์รูปกรวย:เป็นเซลล์ที่ช่วยให้มองเห็นวัตถุเป็นสีต่างๆซึ่งจะทำหน้าที่เฉพาะในที่สว่างโดยเซลล์รูปกรวยนี้จะมี3ชนิดคือเซลล์รูปกรวยสีแดงเซลล์รูปกรวยสีเขียวและเซลล์รูปกรวยสีน้ำเงินซึ่งเมื่อแสงผ่านเข้าสู่ดวงตาจะกระตุ้นการทำงานของเซลล์ทั้งสามให้ส่งสัญญาณไปยังสมองเพื่อผสมผสานและแปลสัญญาณออกมาเป็นสีต่าง ๆ
•ในภาวะที่มองเห็นสีได้อย่างปกติ เซลล์ทั้งสามส่วนจะถูกกระตุ้นส่งสัญญาณและแปลสัญญาณสีออกมาได้อย่างถูกต้อง เรียกว่า Trichromatism
•บางรายอาจจะมีเซลล์ดังกล่าวไม่ครบทั้ง 3 ชุด หรือชุดใดชุดหนึ่งทำงานผิดปกติ ทำให้เห็นสีเพี้ยนไปจากคนอื่น ๆ ภาวะนี้เรียกว่า Dichromatism ผู้ที่มีภาวะแบบนี้มักจะไม่รู้ตัวว่ามองเห็นเพี้ยนจากคนอื่น เพราะจะเกิดการรับรู้สีในแบบของตัวเอง
•สำหรับผู้ที่มีอาการตาบอดสีอย่างรุนแรง จะมีเซลล์รับสีเพียงชุดเดียว เรียกว่า Monochromatism ซึ่งผู้มีอาการเช่นนี้จะมองเห็นภาพเป็นขาวดำ
โรคตาบอดสีเป็นโรคที่เกิดจากกรรมพันธุ์พบได้ประมาณ8%ของประชากรและจะพบได้มากในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
เซลล์รูปแท่ง:เป็นเซลล์ที่ช่วยในการมองเห็นในที่สลัวภาพที่เห็นจากเซลล์รูปแท่งนี้จะมีลักษณะเป็นสีขาวหรือดำขึ้นอยู่กับความสว่างของแสงในดวงตาของคนปกติเซลล์รูปแท่งนี้จะช่วยให้สามารถมองเห็นวัตถุในที่มืดได้ในระดับหนึ่ง
เซลล์รูปกรวย:เป็นเซลล์ที่ช่วยให้มองเห็นวัตถุเป็นสีต่างๆซึ่งจะทำหน้าที่เฉพาะในที่สว่างโดยเซลล์รูปกรวยนี้จะมี3ชนิดคือเซลล์รูปกรวยสีแดงเซลล์รูปกรวยสีเขียวและเซลล์รูปกรวยสีน้ำเงินซึ่งเมื่อแสงผ่านเข้าสู่ดวงตาจะกระตุ้นการทำงานของเซลล์ทั้งสามให้ส่งสัญญาณไปยังสมองเพื่อผสมผสานและแปลสัญญาณออกมาเป็นสีต่าง ๆ
•ในภาวะที่มองเห็นสีได้อย่างปกติ เซลล์ทั้งสามส่วนจะถูกกระตุ้นส่งสัญญาณและแปลสัญญาณสีออกมาได้อย่างถูกต้อง เรียกว่า Trichromatism
•บางรายอาจจะมีเซลล์ดังกล่าวไม่ครบทั้ง 3 ชุด หรือชุดใดชุดหนึ่งทำงานผิดปกติ ทำให้เห็นสีเพี้ยนไปจากคนอื่น ๆ ภาวะนี้เรียกว่า Dichromatism ผู้ที่มีภาวะแบบนี้มักจะไม่รู้ตัวว่ามองเห็นเพี้ยนจากคนอื่น เพราะจะเกิดการรับรู้สีในแบบของตัวเอง
•สำหรับผู้ที่มีอาการตาบอดสีอย่างรุนแรง จะมีเซลล์รับสีเพียงชุดเดียว เรียกว่า Monochromatism ซึ่งผู้มีอาการเช่นนี้จะมองเห็นภาพเป็นขาวดำ
โรคตาบอดสีเป็นโรคที่เกิดจากกรรมพันธุ์พบได้ประมาณ8%ของประชากรและจะพบได้มากในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
คนที่มีเเนวโน้มว่าจะเป็นตาบอดสี
ถึงแม้ว่าตาบอดสีอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุแต่สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดคือกรรมพันธุ์คนที่เป็นตาบอดสีส่วนใหญ่ได้รับถ่ายทอดมาทางพันธุกรรมจากพ่อหรือแม่ส่วนสาเหตุอื่นๆของภาวะตาบอดสีประกอบด้วย
- โรคเบาหวาน
- โรคจอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงอายุ (AMD)
- โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (MS)
- ภาวะความบกพร่องทางสายตาอื่นๆเช่น ต้อกระจก (เลนส์ตาเป็นฝ้ามัว) หรือต้อหิน (กลุ่มอาการผิดปกติของดวงตาที่ทำให้เส้นประสาทตาถูกทำลาย)
- การบาดเจ็บที่ดวงตา
- ความผิดปกติทางระบบประสาทเช่น โรคพาร์กินสัน
- ความเสื่อมตามวัย
การทดสอบตาบอดสี
วิธีการทดสอบตาบอดสี
ตาบอดสีสามารถตรวจคัดกรองและวินิจฉัยได้ด้วยแบบทดสอบอย่างง่ายการทดสอบไม่มีอันตรายและความเสี่ยงและไม่จำเป็นต้องมีการเตรียมตัวใดๆเป็นพิเศษซึ่งจักษุแพทย์มักจะตรวจตาบอดสีด้วยการคัดกรองสายตาเป็นประจำอยู่แล้วโดยเฉพาะในเด็กดังนั้นตาบอดสีจึงมักถูกวินิจฉัยพบได้ตั้งแต่วัยเด็กส่วนแบบทดสอบที่ใช้ในการตรวจอาการตาบอดสีก็มีอยู่หลายแบบแตกต่างกันไปประกอบด้วย
- แผ่นทดสอบอิชิอารา(Ishihara plates)เป็นวิธีการทดสอบที่พบได้มากและได้รับความนิยมมากที่สุดจัดเป็นการตรวจในระดับคัดกรอง(Screening)เพื่อดูว่าผู้เข้ารับการตรวจมีภาวะตาบอดสีหรือไม่ โดยผู้เข้ารับการตรวจจะได้ดูแผ่นภาพหรือแผ่นกระดาษหลายๆหน้า(38หน้า แต่ส่วนมากไม่ต้องดูทั้งหมดก็ทราบแล้วว่าตาบอดสีหรือไม่)ซึ่งในแต่ละหน้าจะมีวงกลมวงใหญ่ที่เต็มไปด้วยจุดสีเล็กๆที่ซ่อนตัวเลขและเส้นเอาไว้ให้ลากโดยจุดสีที่ใช้จะเป็นสีที่คนตาบอดสีมักสับสนถ้าสามารถอ่านและลากเส้นได้ถูกต้องทั้งหมดก็ถือว่าตาปกติแต่ในคนตาบอดสีแดงซึ่งจะสับสนระหว่างสีแดงและสีน้ำเงินอมเขียวถ้ามีตัวเลขสีแดงบนพื้นสีน้ำเงินอมเขียวก็จะทำให้มองไม่เห็นตัวเลขบนแผ่นทดสอบที่ซ่อนอยู่

- แบบทดสอบแคมบริดจ์(Cambridge color test)เป็นแบบทดสอบที่คล้ายกับอันแรก แต่จะแสดงอยู่บนจอคอมพิวเตอร์และให้ผู้เข้ารับการตรวจชี้หาตัว“C”ที่จะปรากฏขึ้นแบบสุ่มจากพื้นหลังที่มีสีแตกต่างกัน

- การทดสอบด้วยเครื่องAnomaloscopeซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้แยกสีออกเป็นสีต่างๆแล้วให้ผู้เข้ารับการตรวจทำการColor Matchingเช่น ผู้ตรวจกำหนดเป็นสีเหลืองไว้แล้วให้ผู้เข้ารับการตรวจพยายามผสมสีแดงและเขียวให้ได้สีเหลืองในผู้ที่ตาบอดสีแดงหรือพร่องสีแดงก็จะใช้สีแดงมากเมื่อเปรียบเทียบกับคนปกติจึงทำให้แพทย์สามารถวินิจิฉัยได้ว่าผู้นั้นมีการมองเห็นสีบกพร่องหรือตาบอดสีแดงอย่างไรก็ตามวิธีนี้ก็สามารถใช้ตรวจได้เฉพาะตาบอดหรือพร่องสีแดงและสีเขียว

- การทดสอบFarnsworth-Munsell(Farnsworth-Munsell 100 hue test) เป็นการทดสอบเพื่อวัดความสามารถในการพิจารณาการเปลี่ยนแปลงของสีอย่างละเอียดของผู้เข้ารับการตรวจเช่นผู้ที่ทำงานด้านการออกแบบกราฟิกผู้ตรวจสอบคุณภาพอาหารเป็นต้นการทดสอบนี้สามารถใช้แยกผู้ที่มีการมองเห็นสีปกติและผู้ที่มีพร่องสีน้อยๆออกจากผู้ที่ตาบอดสีระดับปานกลางถึงรุนแรงได้โดยเครื่องมือจะมีลักษณะเป็นฝาครอบบล็อกหรือหมุดที่มีสีลดหลั่นกันลงมา ผู้เข้ารับการตรวจจะต้องเรียงสีต่างๆที่ใกล้เคียงกันต่อๆกันตามเฉดสี

- การทดสอบFarnsworthlantern(Farnsworth lantern test)ทหารสหรัฐฯจะใช้การทดสอบนี้เพื่อตรวจสอบระดับความรุนแรงของภาวะตาบอดสีและมีใช้ในอุตสาหกรรมการบิน ซึ่งผู้เข้ารับการตรวจจะได้ดูหลอดไฟเป็นคู่ๆและจะต้องบอกสีของหลอดไฟ

แหล่งที่มาข้อมูล
- https://medthai.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%B5/
- https://www.essilor.co.th/vision/eye-problems/colour-blindness#GXL5CprKVBpkEgfk.97
- https://www.laservisionthai.com/health-corner/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%B5-color-blindness
- https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%B5
- https://med.mahidol.ac.th/ramachannel/home/article/%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%B5-%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%9C%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2/
コメント
コメントを投稿